บทบาทหน้าที่ของตนเองตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูทั้ง
5 ด้าน
จรรยาบรรณวิชาชีพครู
กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด
และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ
ความสำคัญ
จรรยาบรรณในวิชาจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่
อาชีพที่เป็น “วิชาชีพ” นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า
“จรรยาบรรณ“ ส่วนลักษณะ “วิชาชีพ ” ที่สำคัญคือ
เป็นอาชีพที่มีศาสตร์ชั้นสูงรองรับ
มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าวในระดับอุดมศึกษาทั้งการสอนด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ
และมีประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากนี้จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี “จรรยาบรรณในวิชาชีพ” เพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดในจรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป
คือ แนวความประพฤติปฏิบัติที่มีต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน ต่อตนเอง และต่อสังคม
จรรยาบรรณวิชาชีพครู
มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ
มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ
๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
๒.
รักษามาตรฐานวิชาชีพ
๓. พัฒนาวิชาชีพ
ด้านที่ 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้าพเจ้าฝึกตนเองให้มีวินัยอยู่เสมอ
รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง และใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ
เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ดังนี้
1.ประพฤติชอบ
ครูต้องตั้งตนไว้ในที่ถูกที่ควรสามารถบังคับตนเองให้ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงามถูกต้อง
2.รับผิดชอบ ครูต้องฝึกความรับผิดชอบ
โดยตั้งใจทำงานให้สำเร็จลุล่วง
3.มีเหตุผล
ครูต้องฝึกถามคำถามตนเองบ่อย ๆ ฝึกความคิดวิเคราะห์หาเหตุหาผล
หาข้อดีข้อเสียของตนเอง และเรื่องต่าง ๆ เพื่อทำให้ตนเองเป็นคนมีเหตุผลที่ดี
4.ใฝ่รู้
การติดตามข่าวสารข้อมูลอยู่เสมอ ๆ ทำให้ครูมีนิสัยใฝ่รู้
อยากทราบคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ครูควรมีความรู้รอบตัวอย่างดีทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ
และการเมือง เพื่อให้ครูดำรงชีพในสังคมได้อย่างเป็นสุข
ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ และชี้แนะสิ่งที่ถูกต้องให้ศิษย์
5.รอบคอบ
ครูต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนรอบคอบ ละเอียดและประณีต ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ
การทำกิจกรรม เช่น ควบคุมบัญชีการเงินต้องรอบคอบ ต้องเห็นตัวเลขชัดเจนไม่ตกหล่น
ทำให้เกิดการผิดพลาดที่เป็นผลร้ายทั้งของตนเองและผู้อื่น
6.ฝึกจิต การพัฒนาจิต
ทำให้ครูอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและส่งผลทำให้ครูทำงานได้อย่างมีประสิทธิถาพมากขึ้นครูจึงต้องหมั่นฝึกจืตของตนให้สูงส่ง
สูงกว่ามาตรฐาน ระงับอารมณ์ไม่ดี คิดอะไรได้สูงกว่ามาตรบานและคิดเป็นบวก
มากกว่าคิดลบหรือคิดร้าย
7.สนใจศิษย์
การสนใจพัฒนาการของผู้เรียน เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้า
เพราะถ้าไม่มีผู้เรียนก็ไม่มีวิชาชีพครู
ครูจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับลักษณะธรรมชาติผู้เรียน
การแก้ปัญหาผู้เรียน การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ด้านที่ 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของครู
เพราะอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีคุณค่ามีประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ในฐานะที่เป็นอาชีพที่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ ดังนั้นเราต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต
รับผิดชอบต่อหน้าที่ และเป็นสมาชิกที่ดีององค์กรวิชาชีพ ดังนี้
1.
ศรัทธาต่อวิชาชีพ ผู้ที่อยู่ในวงการวิชาชีพครู
ต้องมีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพครู เห็นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีคุณค่า
มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในฐานะที่เป็นอาชีพที่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ
และเป็นคนที่พึงประสงค์ของสังคม ผู้อยู่ในวิชาชีพจะต้องมั่นใจ
ในกาประกอบวิชาชีพนี้ด้วยความรัก และชื่นชมในความสำคัญของวิชาชีพ
2.
ธำรงและปกป้องวิชาชีพ สมาชิกของสังคมวิชาชีพต้องมีจิตสำนึกในการธำรง ปกป้อง
และรักษาเกียรติภูมิของวิชา ไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน หรือเหยียบย่ำ
ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ หรือ
มัวหมองการธำรงปกป้องต้องกระทำทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาหรือต้องมีการแก้ไขข่าวหรือประท้วงหากมีข่าวคราวอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อวิชาชีพ
3.
พัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพ หน้าที่ของสมาชิกในวงการวิชาชีพคือ การที่ต้องรับผิดชอบในการศึกษา
ค้นคว้าวิจัย สร้างความรู้และเผยแพร่ความรู้
เพื่อทำให้วิทยาการในศาสตร์สาขาวิชาชีพครูก้าวหน้าทันสังคมทันเหตุการณ์
ก่อประโยชน์ต่อประชาชนในสังคม ทำให้คนเก่ง และฉลาดขึ้น
โดยวิธีการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักเรียน ใฝ่รู้ ช่างคิด ทีวิจารณญาณ
มีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ มากขึ้น
4.
สร้างองค์กรวิชาชีพให้แข็งแกร่งสมาชิกในวงวิชาชีพต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสร้างองค์กรวิชาชีพให้คงมั่นธำรงอยู่ได้ด้วยการเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิก
และเป็นเวทีให้คนในวงการได้แสดง ฝีมือและความสามารถทางการสร้างรูปแบบใหม่ของการเรียนการสอนตลอดจนการเผยแพร่ผลงานทางด้านการสร้างแบบเรียนใหม่
ๆ การเสนอแนวความคิดห่าในเรื่องของการพัฒนาคน การเรียนการสอน และการประเมินผล
5.
ร่วมมือในกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพ
สมาชิกในสังคมวิชาชีพต้องร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในเรื่องของความคิด
หรือการจัดประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร หากไม่ได้รับความสนับสนุนจากสมาชิกแล้ว
ทำให้องค์กรวิชาชีพขาดความสำคัญลงและไม่สามารถดำเนินภารกิจขององค์กรวิชาชีพต่อไปได้บทบาทของการธำรงมาตรฐานและการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการก็ย่อมจะลดลงด้วย
ถ้าไม่มีปริมาณสมาชิกที่สนับสนุนเพียงพอ
ด้านที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณครู
พ.ศ. 2539 มีดังนี้
1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์
โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ
ส่งเสริมและให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน
และสร้างเสริมความรู้ ทักษะ
และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถและด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3.
ครูต้องประพฤติและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งหลาย ทั้งกาย วาจา
และจิตใจ
4.
ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติ ปัญญา จิตใจ อารมณ์
และสังคมของศิษย์
5.
ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
และไม่ใช้ จ้าง วาน ให้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6.
ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ
และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู
และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
8.
ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
9.
ครูพึงประพฤติและปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาแลวัฒนธรรมไทย
สำหรับผู้อยู่ในวิชาชีพครูจะต้องมั่นใจ ในการประกอบวิชาชีพนี้ด้วยความรัก
และชื่นชมในความสำคัญของวิชาชีพ
ด้านที่ 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้าพเจ้าจะยึดมั่นในคุณธรรม
และรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน มีความรัก ความสามัคคีภายในองค์กรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน
เพื่อให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้า
ด้านที่ 5 จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้าพเจ้าจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้สังคมมีความเจริญรุ่งเรื่องอย่างมั่นคง คนในสังคมเป็นคนดี
และยึดมั่นในหลักของประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
" .......แม้ในปัจจุบัน เทคโนโลยีจะก้าวหน้า ข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน แต่ก็ไม่สามารถทดแทนครูได้ เพราะการศึกษามิใช่เป็นการรับความรู้ หรือรับข้อมูลข่าวสารเท่านั้น สิ่งสำคัญกว่าคือการฝึกคิด การบ่มนิสัยให้แต่ละคน สามารถพึ่งพาตนเอง
และมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ต่อผู้อื่น
ส่วนนี้ต้องใช้คนสอนเท่านั้น
ยิ่งเทคโนโลยีก้าวไกลเพียงใด
ก็ยิ่งต้องการครูที่มีความสามารถมากขึ้นเพียงนั้น ครูต้องพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันโลก จึงจะสามารถสอน อบรมบ่มนิสัยคนในยุคใหม่ได้
............"
( - พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี
ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเป็นประธานเปิดงานวันครูโลก เมื่อ วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๗
ณ หอประชุมคุรุสภา - )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น